ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการป้องกัน ลมเข้ากระเพาะผู้ป่วย ขณะให้อาหารสายยาง !  (อ่าน 37 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 252
    • ดูรายละเอียด
วิธีการป้องกัน ลมเข้ากระเพาะผู้ป่วย ขณะให้อาหารสายยาง !

การให้อาหารทางสายยาง ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องของการกลืนอาหาร ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถรับสารอาหารที่ร่างกายต้องการและเพียงพอ รวมไปถึงยังสามารถป้องกันภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยได้อีกด้วย การให้อาหารทางสายยาง จำเป็นจะต้องมีเจ้าหน้าที่หรือผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง

เพราะการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก และผู้ให้อาหารจะต้องมีประสบการณ์ เพราะการให้อาหารทางสายยาง จำเป็นต้องมีความละเอียดอ่อน ทั้งยังต้องสังเกตอาการของผู้ป่วยขณะให้อาหารทางสายยางด้วยว่ามีอาการอย่างไรบ้าง รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ขณะให้อาหาร ผู้ดูแลจะต้องรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมเพราะถ้าเกิดผู้ป่วยสำลักอาหาร หรือมีอาการผิดปกติขณะให้อาหาร ผู้ดูแลจะต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขทันที เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

นอกจากนี้การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องระมัดระวังเรื่องของอุปกรณ์ให้อาหารทางสายยาง จะต้องมีความชำนาญในเรื่องของการใช้อุปกรณ์ ขั้นตอนในการให้อาหารทางสายยางและ วิธีป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆ อย่างเช่นการให้อาหารอาจจะเกิดการติดขัดของสายยางให้อาหารได้ หรือผู้ป่วยอาจจะเกิดการสำลักอาหาร ผู้ดูแลจะต้องรีบแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน


นอกจากนี้ การให้อาหารทางสายยาง จะต้องระมัดระวังเรื่องของ วิธีการให้อาหาร เพราะบางครั้งหลังจากให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการผิดปกติ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีลมเข้าไปในกระเพาะอาหารของผู้ป่วย ในขณะที่ผู้ดูแล กำลังให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องมีวิธีการป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหารของผู้ป่วยผู้ดูแลจะต้องดึงจุกที่ปิดหัวต่อปลายสายให้อาหารออก ขณะเดียวกันใช้นิ้ว พับสายคีบเอาไว้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลมเข้ากระเพาะอาหารของผู้ป่วย เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาหารท้องอืดได้ อย่างไรก็ตาม การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย จะต้องใส่ใจในเรื่องของความสะอาดเป็นอย่างมาก เพราะการให้อาหารทางสายยางนั้น หากต้องเจาะบริเวณหน้าท้อง อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย จึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

รวมไปถึงอาหารปั่นผสมที่ใช้ให้ผู้ป่วยจะต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ และต้องให้อาหารที่เหมาะสมกับโรคของผู้ป่วยด้วย ซึ่งควรใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ อาหารปั่นผสมที่นำไปให้แก่ผู้ป่วยจะต้องผ่านการตรวจสอบจากนักโภชนาการก่อน เพราะอาหารที่นำไปให้ผู้ป่วยนั้น อาจจะต้องจำกัดปริมาณ สัดส่วน ให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายผู้ป่วย หากให้ในปริมาณที่มากไปหรือน้อยอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เรื่องของอาหารปั่นผสมที่ใช้ให้ผู้ป่วย


นอกจากจะต้องมีความสะอาดแล้ว ยังต้องคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารอีกด้วย ผู้ป่วยบางโรค อาจจะรับประทานอาหารบางชนิดไม่ได้ หรือควรหลีกเลี่ยง ผู้ที่ทำอาหารปั่นผสมจะต้องรู้ถึงข้อมูลอาการป่วยด้วย เพื่อที่จะได้ผลิตอาหารออกมาให้ดข้ากับโรคผู้ป่วย โดยที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยเหิดอันตรายจากการรับอาหารปั่นผสมเข้าไป อย่างไรก็ตาม ภาชนะในการใส่อาหารก็ต้องมีความสะอาด ต้องไม่มีสารปนเปื้อนหรือสิ่งปนเปื้อน เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือผู้ป่วยอาจจะมีอาการท้องเสียได้ ซึ่งจะทำให้อาการป่วยอาจจะทรุดลงได้