ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ป่วยติดเตียง ที่ให้อาหารสายยาง มักมีปัญหาสุขภาพตามมา  (อ่าน 5 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 249
    • ดูรายละเอียด
ผู้ป่วยติดเตียง ที่ให้อาหารสายยาง มักมีปัญหาสุขภาพตามมา

ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวอยู่ตลอดเวลา หรือในบางกรณีอาจจะพอที่จะขยับตัวเองได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องอื่นๆ ได้เลย โดยอาจมีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาหรือเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ไม่ว่าจะเป็นภาวะความเจ็บป่วยจากการเป็นโรคหรือผู้ป่วยอาจจะประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียง อาจจะมีทั้งผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้

นอกจากนี้แล้วการนอนติดเตียง ยังเป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมามากมายได้ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ เกิดภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ ที่กล่าวมานั้นเรียกว่าผู้ป่วยติดเตียง  อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยติดเตียงในบางรายอาจจะต้องได้รับอาหารทางสายยาง เนื่องจากร่างกายอาจจะทำงานได้ไม่เป็นปกติ เช่น เกิดการภาวะการกลืนลำบาก หรือไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้

แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงและไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จนต้องให้อาหารทางสายยาง เพราะผู้ป่วยติดเตียงบางคนเกิดภาวะการกลืนลำบากหรืออาจจะต้องให้อาหารทางสายยาง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหาร และเพื่อให้ร่างกายได้รักษาสมดุลของระบบต่างๆ แต่การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยติดเตียงก็มีข้อเสียอยู่หลายข้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก


เพราะผู้ป่วยบางรายเมื่อรับอาหารเข้าไปแล้ว ร่างกายเกิดการย่อยยาก จนทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งโดยปกติการขับถ่ายของคนทั่วไป ร่างกายจะต้องมีการเคลื่อนไหว เพื่อให้ลำไส้มีการบีบตัว ช่วยลำเลียงของเสียออกจากร่างกาย แต่เมื่อนอนติดเตียง จึงมักทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องผูกเพราะร่างกายขยับน้อย เคลื่อนไหวได้น้อย ซึ่งการที่ร่างกายได้รับใยอาหารเสริม หรือ จุลินทรีย์ชนิดดี ก็จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้การรับประทานผักและผลไม้ ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายได้ดี แต่ผักผลไม้บางประเภท ก็ควรที่จำกัดปริมาณในการรับประทาน เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้

ปัญหาต่อมาคือ การที่ผู้ป่วยไม่ได้ขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกาย อาจจะส่งผลให่ผู้ป่วยติดเตียงมีกล้ามเนื้อน้อย เพราะเมื่อผู้ป่วยขยับร่างกายน้อยหรือไม่ขยับร่างกายเลย ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อก็มักจะน้อยตาม ซึ่งการได้รับอาหารที่ครบถ้วน มีโปรตีนที่เพียงพอ เป็นจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่งที่ดี ควบคู่กับการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อลดลงรวดเร็วเกินไป อย่างไรก็ตาม หากให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงนอนกิน อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักได้ และที่แย่ก็คืออาจทำให้มีเศษอาหารหลุดเข้าไปในหลอดลมจนส่งผลให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อ


ซึ่งถ้าหากเป็นเศษอาหารชิ้นใหญ่อาจทำให้ไปอุดหลอดลมจนกระทั่งขาดอากาศหายใจได้เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลย เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักจึงไม่ควรให้ผู้ป่วยทานอย่างเด็ดขาด ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยได้ทานอาหารจึงควรจับผู้ป่วยให้นั่งตัวตรง โดยพยายามให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากกินอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรให้ผู้ป่วยได้นั่งอยู่ในท่าเดิมเพื่อให้อาหารได้ย่อยก่อนสัก 1 – 2 ชั่วโมงแล้วจึงค่อยให้นอนลง ทั้งนี้ขอสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และถูกสุขอนามัย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพ ทางเรามีบริการอาหารทางสายยาง ที่มีคุณภาพ ผ่านการปรุงจากนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญ จึงทำให้มั่นใจได้ว่า อาหารปั่นผสมจะมีมาตรฐานและความปลอดภัยอย่างแน่นอน